วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา


   หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่
1.ขันธ์ หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
      รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
    - ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
    - ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
    - ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
    - ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์) อ่านเพิ่มเติม

พระไตรปิฎก

  
  ศาสนาทุกศาสนา ย่อมมีคัมภีร์หรือตำราทางศาสนาเป็นหลักในการสั่งสอน พระไตรปิฎก หรือที่เรียกในภาษาบาลีว่า ติปิฎกหรือเตปิฎกนั้น เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับไตรเวท ซึ่งเป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ ไบเบิ้ลของศาสนาคริสต์ อัลกุรอานของ ศาสนาอิสลาม พระพุทธเจ้าประทานพระพุทธโอวาทไว้มากหลายต่างกาลเวลา ต่างสถานที่กัน พระสงฆ์สาวกซึ่งท่องจำไว้ได้ ได้จัดระเบียบเป็นหมวดหมู่ เป็นปิฎกต่างๆ อ่านเพิ่มเติม

การบริหารจิตและเจริญปัญญา

 

 พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เน้นเรื่อง การฝึกควบคุมการ วาจาและจิตใจไปพร้อมกัน ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนาถือว่าเมื่อกาย วาจา สงบนิ่ง และควบคุมจิตให้สนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว ความรู้ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงก็จะเกิดขึ้นตามมา การควบคุมกาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย เรียกว่า ศีล การควบคุมจิตให้สนใจสนใจเพียงเรื่องเดียว เรียกว่า สมาธิ อ่านเพิ่มเติม

พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง

   

    พระสารีบุตร เดิมชื่อ อุปติสสะ เป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อสารี บิดาเป็นนายบ้าน อุปติสสคาม ใกล้เมืองราชคฤห์ บิดามารดามีฐานะร่ำรวย เหตุที่ท่านได้ชื่อว่า สารีบุตร เนื่องจากเมื่อท่านบวชแล้วเพื่อนพระภิกษุด้วยกันมักเรียกท่านว่า สารีบุตร แปลว่า บุตรนางสารีตามชื่อมารดาของท่านอุปติสสะ อ่านเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ

  

พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕ นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยจนแยกกันไม่ออก พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป อ่านเพิ่มเติม

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

 
  
      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง อ่านเพิ่มเติม

ศาสนาสำคัญในประเทศไทย



      การเกิดของศาสนาพราหมณ์แตกต่างกับศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลามที่เกิดขึ้นเพราะมีคน ๆหนึ่งค้นพบความสำเร็จในหลักธรรม  แล้วสั่งสอนคนทั้งหลายในฐานะเป็นศาสดาคำสอนที่ท่านสอนก็เป็นศาสนา  แต่ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาโดยคำสอนต่าง ๆที่เกิดขึ้นเพราะมีผู้รวบรวมลัทธิดั้งเดิมของชาวชมพูทวีป อ่านเพิ่มเติม